วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 5 ินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 5
 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


อินเทอร์เน็ต(Internet)




อินเทอร์เน็ต หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตมีจุดเริ่มต้นจากโครงการอาร์พาเน็ต ที่อยู่ในความควบคุมของอาร์พาซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โดยได้สนับสนุนทุนให้แก่มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนเพื่อทำวิจัยและพัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง เข้าด้วยกัน และต่อมาภายหลังได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนไปใช้เครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่าเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่ใช้ในปัจจุบัน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมโยง ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งเครือข่ายยูยู
เน็ต และมีอีกหลายสถาบันศึกษาเข้ามาขอเชื่อมต่อกับเครือข่าย และเรียกเครือข่ายว่า ไทยเน็ต


การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต (Internet Address) เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่า หมายเลขไอพี ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต เนื่องจากหมายเลขไอพีนั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน

การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต 2 วิธีการหลัก คือ การเชื่อมต่อโดยตรง และการเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม
1. การเชื่อมต่อโดยตรงกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ข้อดีก็คือ การรับ-ส่งข้อมูลจะสามารถทำได้โดยตรง รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ ส่วนข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูง
2. การเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม
เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ โดยจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม ข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศ ส่วนข้อเสียคือ การส่งข้อมูลจะช้ากว่าโดยตรง

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เรียกสั้นๆว่า เบราเซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้สร้างโปรแกรมรูปแบบกราฟิก เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและภาพกราฟิกได้ เช่น โปรแกรม Microsoft Internet Explorer , Netscape Navigator

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต 
1. ไปรษรีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล ซึ่งเป็นการรับ-ส่งจดหมายหรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลก
2. การสนทนาออนไลน์ ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆได้ในเวลาเดียวกัน สามารถใช้ภาพกราฟิก การ์ตูน หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆแทนตัวผู้สนทนาได้
3. เทลเน็ต เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ให้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การทำงานจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย 4. การขนถ่ายไฟล์ เรียกสั้นๆว่า เอฟทีพี เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce) 

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีสถานที่จำหน่าย แต่จะไม่มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบที่มีสถานที่จำหน่าย และมีเว็บไซต์ที่นำเสนอสินค้า
3. ธุรกิจแบบคลิกและคลิก เป็นธุรกิจไม่มีสถานที่หรือร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้า มีเพียงเว็บไซต์เท่านั้น


รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ธุรกิจกับธุรกิจ B2B มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน
2. ธุรกิจกับลูกค้า B2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจกับลูกค้า 3. ธุรกิจกับภาครัฐ B2G เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจกับภาครัฐ
4. ลูกค้ากับลูกค้า C2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน
5. ภาครัฐกับประชาชน G2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เป็นนโยบายหนึ่งของรัฐ


โครงสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
มีหน้าร้าน ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ระบบการชำระเงิน ระบบสมัครสมาชิก ระบบการขนส่ง และระบบติดตามคำสั่งซื้อ ในด้านของกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็มีดังนี้ การค้นหาข้อมูล การสั่งซื้อสินค้า การชำระเงิน การส่งมอบสินค้าและการให้บริการหลังการขาย

เอกสารอ้างอิง
https://sites.google.com/site/vgcgghhj/home/bth-thi-5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัด บทที่10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัด บทที่10   เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ         - ก...