บทที่ 10
เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
ในยุคที่สารสนเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องราว ต่างๆ ได้ขององค์กรได้
เนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจ านวนมาก จึงจ าเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนรูปจากสารสนเทศให้มาอยู่
ในรูปแบบของความรู้แทน ในเมื่อความรู้และสารสนเทศมีความแตกต่างกันดังนั้น การจัดการ
ความรู้ (Knowledge management หรือ KM) จึงแตกต่างจากการจัดการสารสนเทศ
(Information Management) และมีความซับซ้อนกว่ามาก อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ก็
ยังจำเป็นที่ต้องนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการด าเนินการและเป็นเครื่องมือส าคัญในการใน
ระบบจัดการความรู้
ความรู้คืออะไร
หลายคนยังมีความสับสนในความหมายของข้อมูล (Data), สารสนเทศ (Information)
และความรู้ (Knowledge) ว่าเป็นอย่างไร ทั้งสามค านี้มีการให้นิยามกันอย่างหลากหลายเช่น
ข้อมูลหมายถึงข้อเท็จจริง สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถน ามาประมวลผล
วิเคราะห์ได้ ในส่วนของความรู้ก็มีนิยามที่แตกต่างกันไปดังที่ Von Krogh, Ichiro และ
Nonaka [2000] อธิบายไว้ว่าความหมายของความรู้ของแต่ละคน แต่ละองค์กรนั้นมี
ความหมายที่แตกต่างกัน Lueg [2001] ให้ความหมายของความรู้ว่าความรู้ไม่ใช่สารสนเทศ แต่
ความรู้มาจากสารสนเทศ ความรู้เป็นสิ่งส าคัญที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินการและสร้าง
จุดแข็งให้แก่องค์กร ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ประเภทของความรู้ก็เช่นเดียวกันที่มีการแบ่งประเภทกันอย่างหลากหลาย เช่น
-ความรู้ออกเป็นความรู้ส่วนบุคคล (Individual knowledge)
-ความรู้องค์กร (Organizational knowledge)
นอกจากนี้ความรู้ยังมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ความรู้ที่เรียกว่า Explicit knowledge ที่เป็นความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร
ฟังก์ชั่นหรือสมการได้
2.ความรู้ที่เรียกว่า Tacit knowledge ซึ่งไม่สาสามารถเขียนหรืออธิบายได้ การถ่ายโอนความรู้ประเภท
นี้ท าได้ยาก จ าเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระท า ฝีกฝน เช่น การสร้างความรู้ที่เป็นทักษะหรือ
ความสามารถส่วนบุคคล Nonaka และ Takeuchi [1995] ได้ก าหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรู้ทั้งสองในรูปแบบของการเปลี่ยนรูปแบบเป็น 4 ส่วนคือ externalization, internalization,
socialization และ combination.
กระบวนการจัดการความรู้
• กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นมีการจ าแนกที่แตกต่างกันเช่น Demarest ได้แบ่ง
กระบวนการจัดการความรู้เป็น
• การสร้างความรู้ (Knowledge construction)
• การเก็บรวบรวมความรู้ (knowledge embodiment)
• การกระจายความรู้ไปใช้ (knowledge dissemination)
• การนำความรู้ไปใช้ (use) ในขณะที่ Turban และคณะน าเสนอกระบวนการจัดการความรู้
• ก าหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Mesh ที่แต่ละกระบวนการมีความสัมพันธ์กัน หากสรุปแล้ว
กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้าง การจัดเก็บ การ
ถ่ายทอดและการน าความรู้ไปใช้งาน
อินเทอร์เน็ตกับบทบาทส าคัญในการจัดการความรู้
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โปรแกรมค้นหาช่วยในการค้นหาข้อมูลและ
ความรู้ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการนักก็ตาม ใน
การจัดการความรู้แล้วอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือส าคัญในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ค้นหาจากค าส าคัญในฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ดังเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นน าของโลกมีระบบฐานข้อมูล
ความรู้สนับสนุนการศึกษาและวิจัยจ านวนมาก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อม
หมายความว่าโอกาสในการเรียนรู้มีมากกว่า
ปัญหาการจัดการความรู้
“เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความ
คิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้น” ประโยคที่แสดงประโยชน์และคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยคใน
ทำนองนี้มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่อง
ของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปัน
ความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ท าให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งท าให้ความรู้นั้น
เพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลด
บทบาทและความส าคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและ
นโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การแสวงหาความรู้ การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้
สามารถด าเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำ เทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความส าเร็จของการจัดการ
ความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่ใช่ค าตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยี
สารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และ
ความเชื่อใจของบุคลากรได้
ดังนั้นความส าเร็จของการจัดการคามรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่ส าคัญที่สุด
ในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้
แลกเปลี่ยนความรู้ซึงจะน าไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)
แหล่งที่มา : https://lookaside.fbsbx.com/file/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2010%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89.pdf?token=AWxAXQlEvq5R07AkjmACK4O9g5mpOkvtxyvRarM4uMuV5Hr5-hDvMoRU0_41Fyi7gAlKlu9w5kBB8g_8MNy0njuRAjOPj-nE9lbbGS4HjoaAvZY5_Q6nQ_3ZEL3SuV7y5F0gfTmuiTdaEXFMbnWSoELZGlIp8fHzh_n7B14VflED1Q
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น